Our Blog Posts

Record stories, knowledge, experiences from work Allowing us to develop ourselves Watch the stories of our Dragonray Aquatic from these records.

เลี้ยงน้ำก่อนเลี้ยงปลา ภาค 1

Last modify date : 2020-9-4 Time : 14:43:06

 

เลี้ยงน้ำก่อนเลี้ยงปลา !

การเลี้ยงน้ำเป็นบันไดขั้นแรกของการเลี้ยงปลาให้ดี ที่ทำให้ง่ายก็พอจะได้แต่ทำให้ยากนั้นยิ่งง่ายกว่า ดังที่ นายปีเตอร์แวดดิงตัน, นักเลี้ยงปลาชาวอังกฤษ ผู้บุกเบิกการเลี้ยงปลาโค่ยในยุโรปเคยกล่าวไว้ 

Koi is art , Water is science.” 

ปลาเป็นสัตว์น้ำ มีชีวิตอยู่ในน้ำตลอดเวลา น้ำเปรียบเหมือนทั้งอากาศที่ใช้หายใจ, เป็นที่อยู่อาศัย และแหล่งอาหารของปลาอีกทั้ง ภายในตัวปลาเองนั้นประกอบด้วยของเหลวที่ล้วนเป็นส่วนประกอบของน้ำแทบทั้งสิ้น น้ำภายนอกและน้ำภายในตัวปลาก็มีความสัมพันธ์ ใกล้ชิด และแลกเปลี่ยนกันอยู่ตลอดเวลา 

ปลาในน้ำจึงถูกเปรียบเทียบกับถุงที่ทำด้วยเนื้อเยื่อบางๆ แช่อยู่ในน้ำ และบรรจุน้ำไว้ข้างใน การควบคุมการไหลเข้า หรือไหลออกของ ของเหลวผ่านเนื้อเยื่อถูกจัดการโดยตับ, ไต และเหงือกเป็นส่วนใหญ่ 

คุณภาพของน้ำในตัวปลาจึงขึ้นกับสภาพของน้ำภายนอก น้ำภายนอกหรือน้ำเลี้ยงปลาในบ่อจึงเป็นเรื่องสำคัญลำดับแรกที่ควรให้ ความสนใจในการเริ่มเลี้ยงปลา 

น้ำในแง่วิทยาศาสตร์เป็นของเหลวบริสุทธิ์ที่มีจุดเยือกแข็ง 0 องศาเซลเซียส มีสูตรทางเคมีว่า “H2O” เป็นสารประกอบโควาเลนท์ ชนิดมีขั้ว แต่เราคงไม่ลงรายละเอียดมากไปกว่านี้เพียงแค่อยากจะเกริ่นนำว่า สำหรับการเลี้ยงปลานั้น น้ำมิใช่เป็นน้ำเท่านั้น แต่เป็นน้ำที่มี ส่วนผสมของสารต่างๆจำนวนมากมายหลายชนิดปนเปรวมอยู่ด้วยกัน ทั้งที่มองเห็น และไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า 

น้ำบริสุทธิ์ที่มีแต่เพียงสาร H2O แต่เพียงอย่างเดียว เหมาะกับการใช้ในห้องทดลองหรือในการผลิตยา-เครื่องสำอาง และสารเคมีบาง ประเภทเท่านั้น อีกทั้งมีราคาสูง ไม่สามารถซื้อหาได้ทั่วไป และไม่มีสิ่งมีชีวิตใดอาศัยอยู่ในน้ำเช่นนั้นได้ 

น้ำบริสุทธิ์ไม่สามารถเลี้ยงปลาได้เช่นเดียวกับที่คนเราไม่สามารถอยู่ในออกซิเจนบริสุทธิ์น้ำที่เลี้ยงปลาได้เป็นส่วนผสมของสารต่างๆ หลายสิบชนิดที่รวมเป็นส่วนผสมซึ่งกำหนดคุณลักษณะต่างๆของน้ำให้แตกต่างกันออกไป

คำว่า “การเลี้ยงน้ำ” จึงมีความหมายถึงการสร้าง หรือควบคุม ให้ส่วนผสมต่างๆในน้ำ มีสัดส่วนที่เกิดคุณประโยชน์สูงสุดกับการ เลี้ยงปลาก็เช่นเดียวกับการจัดการสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีให้ เหมาะสมกับการอยู่อาศัยของมนุษย์นั่นเอง 

หลักการเลี้ยงน้ำอยู่ที่ทำอย่างไรจึงจะได้น้ำที่มีคุณภาพตามที่ ปลาต้องการ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลัก คือ

การลดของเสียในน้ำ

การปรับปรุงคุณภาพน้ำ


1. การลดของเสียในน้ำ : เมื่อคุยเรื่องการกำจัดของเสียใน น้ำ ระบบกรองเป็นสิ่งแรกที่ถูกออกแบบมาให้จัดการเรื่องนี้ ไม่ว่า จะเป็นการกรองแบบชีวภาพหรือแบบเคมีก็ตาม แต่นอกเหนือไป จากนั้น ยังคงมีอีก 2วิธีที่ใช้ในการกำจัดของเสียในบ่อปลาได้อีก

การเปลี่ยนถ่ายน้ำ ในการเลี้ยงปลาตู้หรือบ่อปลาขนาด เล็ก การเปลี่ยนถ่ายน้ำปริมาณมากๆ ทำได้สะดวกและมีค่า ใช้จ่ายไม่มาก การทิ้งน้ำ(เก่า)ที่มีของเสียเจือปนอยู่มากออก ไป แล้วทดแทนด้วยน้ำใหม่ที่ไม่มีของเสีย หรือมีของเสียอยู่ น้อยย่อมทำให้ค่าเฉลี่ยต่างๆดีขึ้นโดยทันที 

สมมติว่า ได้ทิ้งน้ำเดิมไปจำนวน 50% ของปริมาณที่มีอยู่ ของเสียจำนวนครึ่งหนึ่งถูกนำออกไปพร้อมกัน เมื่อเติมน้ำใหม่ที่ ไม่มีของเสียอยู่เลยเข้ามาทดแทน ในกรณีนี้ปริมาณของเสียที่ เหลืออยู่คือ50% ในปริมาณน้ำรวม 100% เปรียบได้ว่าคุณภาพ ของน้ำดีขึ้น 2เท่าในทันที

แต่ทั้งนี้น้ำใหม่ที่นำมาใช้นั้น จำเป็นต้องมีปราศจากคลอรีน และมีอุณหภูมิ, ค่าpH และอื่นๆ ที่ไม่ต่างจากน้ำเดิมมากนัก หรือ อาจใช้เทคนิคการเติมน้ำใหม่อย่างช้าๆ ให้ปลาได้มีเวลาปรับตัว ตามคุณลักษณะใหม่ของน้ำใหม่ได้ทัน ทำอย่างนี้จึงปลอดภัยไม่มี ปัญหาจากการเปลี่ยนถ่ายน้ำ 

การเปลี่ยนถ่ายน้ำพร้อมกับการล้างวัสดุกรองยิ่งได้ผลดีเป็น ทวีคูณ เนื่องจากนอกจากได้ทิ้งของเสียที่ละลายในน้ำแล้ว ยังได้ ทิ้งของเสียที่สะสมหมักหมมอยู่ในวัสดุกรองออกไปด้วย ของเสียที่ ถูกกำจัดออกไปย่อมมากกว่า 50% ผลที่เกิดขึ้นจึงมากกว่า2เท่า อย่างแน่นอน

การล้นน้ำทิ้ง เมื่อบ่อขนาดใหญ่ไม่สะดวกกับการเปลี่ยน ถ่ายน้ำปริมาณมากในคราวเดียว การล้นน้ำทิ้งผ่านท่อน้ำล้น หรือSurface skimmerเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง 

การล้นน้ำทิ้งนี้เป็นเทคนิคการเลี้ยงที่น่าสนใจอีกวิธีหนึ่ง นอกจากเป็นการขจัดสิ่งสกปรกที่ผิวน้ำแล้ว กลุ่มของเสียที่ละลาย ในน้ำยังถูกทิ้งออกไปด้วยในเวลาเดียวกัน 

ของเสียเกิดขึ้นในบ่อตลอดเวลาทั้ง 24ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็น แอมโมเนีย, ฟีโรโมน, ความกระด้าง และของเสียอื่นๆ การที่มี ระบบขจัดของเสียออกไปครั้งละน้อยๆ แต่ทำต่อเนื่องตลอดทั้งวัน เป็นการลดของเสียในน้ำอีกวิธีหนึ่งที่ควรเลือกใช้ 

ปริมาณการล้นน้ำทิ้งที่เหมาะสม ขึ้นกับการเกิดของเสียใน ช่วงเวลาหนึ่ง ถ้ามีปริมาณของเสียเกิดขึ้นน้อยกว่าการนำของเสีย ออกไปทิ้ง ด้วยการล้นน้ำทิ้งออกไป รวมกับความสามารถในการ บำบัดของเสียของระบบกรองแล้ว น้ำที่ใช้เลี้ยงปลานั้นย่อมเป็นน้ำ คุณภาพดีเยี่ยมตลอดเวลาเลยทีเดียว

การเจือจางของเสียในน้ำด้วยวิธีการล้นน้ำทิ้งนี้ ปริมาณการเจือจางของเสียอาจแตกต่างจากการเปลี่ยนถ่ายน้ำอยู่บ้าง เช่น เมื่อมีของเสียจำนวน 100 ส่วนอยู่ในบ่อ

• การเติมน้ำเพื่อให้ล้นออกวันละ 10% ทำให้รวมมีปริมาณน้ำ 110 และของเสียถูกล้นออกไป 10 ส่วนจากปริมาณน้ำ 110 หรือคงเหลือน้ำที่ยังคง มีของเสีย 90.9ส่วนในน้ำ 100 ส่วน หรือระบายทิ้งไปได้ 9.1 %

• การเติมน้ำเพื่อให้ล้นออกวันละ 20% ทำให้รวมมีปริมาณน้ำ 120 และของเสียถูกล้นออกไป 20 ส่วนจากปริมาณน้ำ 120 หรือคงเหลือน้ำที่ยังคง มีของเสีย 83.3ส่วนในน้ำ 100 ส่วน หรือระบายทิ้งไปได้ 16.7%

• การเติมน้ำเพื่อให้ล้นออกวันละ 50% ทำให้รวมมีปริมาณน้ำ 150 และของเสียถูกล้นออกไป 50 ส่วนจากปริมาณน้ำ 150 หรือคงเหลือน้ำที่ยังคง มีของเสีย 66.7ส่วนในน้ำ 100 ส่วน หรือระบายทิ้งไปได้ 33.3% เป็นต้น

เทคนิคการเลี้ยงแบบล้นน้ำทิ้งในปริมาณมากนี้นิยมใช้กัน ทั่วไปในหมู่นักเพาะพันธุ์ปลาคาร์พชาวญี่ปุ่น ประกอบกับน้ำที่ บรรดานักเพาะพันธุ์ใช้กันนั้นเป็นน้ำจากภูเขา คุณภาพดีเหมาะสม กับการเลี้ยงปลาโค่ยอยู่แล้ว ยิ่งทำให้ปลาที่เลี้ยงไว้มีคุณภาพดียิ่ง ขึ้นไปอีก 

มีคำกล่าวว่า “น้ำดีคืออาหารปลา” การล้นน้ำหรือการเติมน้ำ ใหม่ปริมาณมากเป็นต้นทุนการเลี้ยงที่ส่งผลให้ปลามีผิวพรรณ, สีสัน และภูมิต้านทานโรคดีขึ้น มีคุณค่าคุ้มค่าแก่การลงทุน 

ยิ่งเมื่อรวมปัจจัยเรื่องของเสียที่ไม่สามารถบำบัดได้ด้วยระบบ กรอง เช่น สารฟีโรโมนจากปลา, แทนนินจากใบไม้, ไขมันจาก อาหารปลา และอื่นๆเข้าไปด้วยแล้ว การล้นน้ำอาจหมายรวมถึง ระบบกรองอีกชนิดหนึ่งก็ไม่เกินเลยไปนัก

2. การปรับปรุงคุณภาพน้ำ นอกเหนือจากการขจัดของเสีย ออกไปจากน้ำแล้ว การพัฒนาหรือปรับปรุงคุณลักษณะของน้ำ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อย 

น้ำจากแต่ละแหล่งมีคุณสมบัติแตกต่างกันอยู่บ้าง การเลี้ยง ปลาในบ่อปลาแต่ละบ่อ สร้างเงื่อนไขให้เกิดขึ้นกับน้ำต่างกัน ทำเล ที่ตั้งของบ่อ, อาหาร, ระบบกรอง, วิธีการเลี้ยงปลา และชนิดของ วัสดุกรองล้วนเป็นองค์ประกอบที่สร้างความแตกต่างทั้งสิ้น

การ เรียนรู้คุณสมบัติขององค์ประกอบย่อยๆในน้ำ ทั้งที่เกี่ยวพัน โดยตรง และโดยอ้อมจึงเป็นเรื่องของการเลี้ยงปลาที่ทำเรื่องยากให้ เป็นเรื่องง่ายได้

เรื่องการเลี้ยงน้ำทั้งหมดนี้อาจไม่จำเป็นสำหรับนักเลี้ยงที่ไม่ ต้องการความจริงจังในการเลี้ยงปลานัก แต่ในบางครั้งเมื่อเกิด ปัญหาขึ้นโดยหาสาเหตุไม่ได้โดยง่าย ความเข้าใจเรื่องคุณสมบัติ ขององค์ประกอบย่อยๆในน้ำจะมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการแก้ ปัญหา

การเลี้ยงปลาโดยทั่วไปแล้ว นักเลี้ยงทั้งหลายก็ไม่ได้จริงจัง กับการควบคุมปัจจัยต่างๆที่จะได้กล่าวถึงต่อไปมากนัก อีกทั้งบ่อ ทั่วไปก็ไม่ได้สร้างเงื่อนไข หรือสร้างปัญหาที่จำเป็นต้องลงมือ จัดการตามทฤษฎีนี้ทั้งหมด แต่ในการเริ่มต้นเลี้ยงปลาหรือบางครั้ง องค์ประกอบบางส่วนยังไม่เข้าที่เข้าทาง และสร้างปัญหาได้บ้าง  

การปรับแต่งในจุดเริ่มต้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ และการควบคุมให้ ระบบไม่สร้างปัญหาในระยะยาวก็ไม่ยากจนเกินไปนักหากมีความ รู้ความเข้าใจอยู่บ้าง

ทั้งหมดนี้นักเลี้ยงอาจจับประเด็นในเรื่องบางเรื่องหรือบาง ส่วนก็เพียงพอไม่มีความจำเป็นต้องปฏิบัติตามทฤษฎีทั้งหมด เพียงเลือกส่วนที่เกี่ยวข้องและสนใจ ค่อยๆนำไปทดลองใช้และ สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับความสบายใจที่จะเลือก นำไปปฏิบัติกับบ่อของนักเลี้ยงแต่ละท่าน

สิ่งที่สำคัญในการเรียนรู้และทดลองปฏิบัติคือ ทุกอย่างต้อง เป็นไปอย่างช้าๆ และทำด้วยความรู้ความเข้าใจ การลงมือทำโดย ปราศจากความรู้ที่ถูกต้อง อาจนำไปสู่ความเสียหายได้โดยง่าย

ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม น้ำดีทำให้ปลาได้แสดงศักยภาพที่มีอยู่ได้ อย่างเต็มที่ ทั้งการเจริญเติบโต ความอยากอาหาร ความมีชีวิต ชีวา และสีสัน คุ้มคากับราคาปลาที่จ่ายออกไป

การเลี้ยงน้ำจึงเป็นเรื่องยากที่ต้องทำให้ง่ายเข้าไว้

คำกล่าวที่ว่า “เลี้ยงน้ำก่อนเลี้ยงปลา” จึงมีความหมายว่า ถ้า เราสามารถทำให้น้ำนั้นเลี้ยงปลาได้ดีการเลี้ยงปลาเป็นเรื่องที่มี ความสำคัญรองลงมา

เพื่อให้การคุยเรื่องการเลี้ยงน้ำกระชับเข้ามา เราควรเริ่มศึกษา สิ่งต่างๆมากมายที่อยู่ในน้ำเสียก่อน ซึ่งมีทั้งที่อยู่ในรูปแบบของ ก๊าซ, ของเหลว และของแข็ง มีทั้งชนิดที่ละลาย และไม่ละลาย ปะปนอยู่ในน้ำ

นอกจากนั้นยังประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอีกมากมาย ทั้งสาหร่ายชนิดต่างๆ, แมลง และตัวอ่อน , แบคทีเรีย, โปรโตซัว, ปรสิตชนิดต่างๆ แต่ละอย่างมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน การ เลือกตัวใดตัวหนึ่งออกมากล่าวถึงเป็นอย่างแรกค่อนข้างจะยาก ลำบาก กระนั้นก็ตามเราคงต้องเริ่มที่สารใดสารหนึ่งอยู่ดี ในครั้งนี้ จึงขอเลือกสารที่มีความสำคัญกับการดำรงชีพมากที่สุดตัวหนึ่ง